
บยส. พร้อมค้ำ พร้อมช่วย ซื้อรถกระบะใหม่ เปิดมาตรการช่วย SMEs
“พร้อมค้ำ พร้อมช่วย” ปลดหนี้ ลดต้นสูงสุด 30%
บสย. เตรียมวงเงินค้ำประกันสินเชื่อกว่า 1 แสนล้านบาทตลอดปี 2568 เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับ SMEs ไทย ตามนโยบายรัฐบาล โดยเปิดโอกาสให้ SMEs สามารถซื้อรถกระบะใหม่ได้ และสนับสนุน “กลุ่มเปราะบาง” รวมถึงผู้ประกอบอาชีพอิสระในการเข้าถึงสินเชื่อ พร้อมเดินหน้าภารกิจ Transforms ขยายบทบาทช่วยเหลือ SMEs ในประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน
ตั้งแต่เริ่มมาตรการ “บสย. พร้อมช่วย” ในเดือนเมษายน 2565 ช่วยลูกหนี้บสย. ด้วยการผ่อนเบา เช่น “ผ่อนน้อย เบาแรง” และ “ตัดเงินต้นก่อนตัดดอก” พร้อมอัตราดอกเบี้ย 0% ผ่อนยาว 7 ปี ทำให้หนี้ลดและหมดเร็ว ตั้งแต่เริ่มมาตรการ บสย. ช่วยเหลือลูกหนี้แล้ว 18,489 ราย รวมมูลหนี้กว่า 11,872 ล้านบาท สูงสุดในรอบ 33 ปี
ในปี 2568 บสย. ได้ปรับเงื่อนไขมาตรการ “บสย. พร้อมช่วย” เพื่อให้การช่วยเหลือ SMEs เป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การเพิ่มระยะเวลาผ่อนและการตัดเงินต้นเพิ่มเติม เพื่อช่วย SMEs ปลดหนี้ได้เร็วขึ้นและง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังได้เปิดตัวมาตรการใหม่สำหรับ SMEs “กลุ่มเปราะบาง” ที่มียอดหนี้ไม่เกิน 2 แสนบาท ด้วยอัตราดอกเบี้ย 0% และผ่อนชำระเริ่มต้นเพียง 500 บาท โดยสามารถผ่อนสูงสุด 80 เดือน พร้อมตัดเงินต้นทั้งจำนวน ค่างวดขั้นต่ำ 500-2,500 บาท และมีสิทธิ์ลดหนี้ 30% เมื่อจ่ายครบ 6 งวด ติดต่อกัน ตลอดปี 2568 บสย. ตั้งเป้าช่วยปรับโครงสร้างหนี้ให้กับ SMEs ผ่านมาตรการนี้ไม่น้อยกว่า 5,000 ราย มูลหนี้รวมไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท
สัดส่วนการให้สินเชื่อสำหรับการเช่าซื้อ รถกระบะเพื่อการพาณิชย์
- ลีสซิ่ง Non bank 20%
- ลีสซิ่งบริษัทรถยนต์ 40%
- ลีสซิ่งในเครือสถาบันการเงิน 40%
ตามมาตรการ เมื่อ SMEs ได้รับอนุมัติสินเชื่อ
- เพื่อซื้อรถกระบะเชิงพาณิชย์
- ได้รับรถไปใช้งาน
- ประสบปัญหาชำระหนี้ไม่ได้เป็น NPLs
ผ่อยไม่ไหว “คืนรถ หรือ โดนยึดรถ”
- SMEs นำรถมาคืนสถาบันการเงิน และไม่ต้องการผ่อนต่อ
- สถาบันการเงินน้ำรถออกประมูล
- บสย. จ่ายส่วนต่างของภาระหนี้กับราคาขายทอดตลาด
ผ่อนไม่ไหว “ติดต่อไม่ได้”
- SMEs ไม่ยอมมาติดต่อ หรือ ไม่เจอรถ
- บสย.จ่ายเคลมให้ 30%-50% ของหนี้ สถาบันการเงินลดภาระการสำรอง
- สถาบันการเงินดำเนินการติดตามรถตามขั้นตอน เมื่อประมูลขายได้ และนำส่วนต่างส่งคืนให้ บสย.

ผลดำเนินงานปี 2567 บสย. มียอดค้ำประกันสินเชื่อ 53,738 ล้านบาท ช่วย SMEs ได้รับสินเชื่อ 88,472 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ประกอบการรายย่อย (Micro SMEs) 90% ค้ำประกันเฉลี่ย 100,000 บาทต่อราย อีก 10% เป็น SMEs ทั่วไป ค้ำประกันเฉลี่ย 4.96 ล้านบาทต่อราย ก่อให้เกิดสินเชื่อในระบบสถาบันการเงิน 58,986 ล้านบาท รักษาการจ้างงาน 487,253 ตำแหน่ง และสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้มากกว่า 220,462 ล้านบาท
ภายใต้ 3 โครงการหลัก ได้แก่
1. โครงการตามมาตรการรัฐ วงเงิน 33,502 ล้านบาท คิดเป็น 62% ของยอดค้ำประกัน ช่วย SMEs เข้าถึงสินเชื่อ 83,012 ราย
2. โครงการค้ำประกันสินเชื่อ โดย บสย. ดำเนินการเอง วงเงิน 10,343 ล้านบาท คิดเป็น 20% ของยอดค้ำประกัน ช่วย SMEs เข้าถึงสินเชื่อ 5,184 ราย
3. โครงการ พ.ร.ก. สินเชื่อฟื้นฟู ระยะที่ 2 (โครงการค้ำประกันสินเชื่อดอกเบี้ยถูก) วงเงิน 9,893 ล้านบาท คิดเป็น 18% ของยอดค้ำประกัน ช่วย SMEs เข้าถึงสินเชื่อ 1,543 ราย

โครงการหลัก PGS 11 “บสย. SMEs ยั่งยืน” มียอดค้ำประกัน 28,537 ล้านบาท ช่วย SMEs เข้าถึงสินเชื่อ 30,381 ราย โดยเป็นกลุ่มที่ไม่เคยใช้บริการ บสย. (ลูกค้าใหม่) ถึง 72% และเป็นกลุ่ม Micro SMEs ถึง 83% ตอกย้ำความสำเร็จในการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย พ่อค้า แม่ค้า อาชีพอิสระ ที่มีปัญหาในการเข้าถึงสินเชื่อ สามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้มากขึ้น โดยประเภทอุตสาหกรรมที่ค้ำประกันสินเชื่อสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่
1. ภาคบริการ 28.4%
2. การผลิตสินค้าและการค้าอื่นๆ 10.8%
3. อาหารและเครื่องดื่ม 10.7% ซึ่งทั้ง 3 อุตสาหกรรมมีสัดส่วนค้ำประกันถึง 50% สะท้อนถึงอุตสาหกรรมหลักของประเทศที่มีส่วนสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

1.มาตรการค้ำประกันสินเชื่อเช่าซื้อ “บสย. SMEs PICK-UP” วงเงิน 10,000 ล้านบาท ถูกเปิดตัวเพื่อช่วยผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องการซื้อรถกระบะใหม่สำหรับขนส่งสินค้าและธุรกิจค้าขาย โดยช่วยให้เข้าถึงสินเชื่อผ่านกลไกการค้ำประกันของ บสย. คาดว่าจะช่วยผู้ประกอบการได้ 12,500 ราย รักษาการจ้างงาน 37,500 ตำแหน่ง และสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 41,300 ล้านบาท อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นตลาดรถเชิงพาณิชย์ให้เติบโตและขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีนี้
2. ผู้ประกอบการรายย่อย/กลุ่มเปราะบาง ผู้ที่เริ่มทำธุรกิจ อาชีพอิสระ ภายใต้โครงการค้ำประกันที่หลากหลาย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการกลุ่ม Micro SMEs ให้ครอบคลุมมากที่สุด ได้แก่
- โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS 11 “บสย. SMEs สร้างโอกาส” และ “บสย. SMEs มีทุน” เป็นโครงการล่าสุดที่ร่วมกับสถาบันการเงินของรัฐ เพื่อช่วย SMEs ที่ไม่เคยเข้าถึงสินเชื่อในระบบ โดยโครงการแรกมีวงเงิน 2,000 ล้านบาท ค้ำประกันไม่เกิน 20,000 บาทต่อราย และโครงการที่สองช่วย SMEs รายย่อยและอาชีพอิสระที่มีปัญหาการเข้าถึงสินเชื่อ โดยมีวงเงิน 2,000 ล้านบาท ค้ำประกันไม่เกิน 50,000 บาทต่อราย รวมทั้งสองโครงการ คาดว่าจะช่วย SMEs เข้าถึงสินเชื่อในระบบไม่ต่ำกว่า 200,000 ราย.
- โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS 11 บสย. SMEs Small Biz และโครงการ PGS 11 บสย. SMEs Smart Gen ให้ความช่วยเหลือต่อเนื่อง สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็ก หรือขนาดกลางที่มีศักยภาพ ต้องการขยายธุรกิจด้วยวงเงินสินเชื่อที่สูงขึ้น
- โครงการ PGS 11 บสย. SMEs No One Left Behind และ โครงการ PGS 11 บสย. SMEs Smart Build ตอบโจทย์ SMEs ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ จากเหตุการณ์หรือในภาวะที่ไม่ปกติ อาทิ อุทกภัย และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ
3. ผู้ประกอบการที่มุ่งเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี หรือปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจ สีเขียว ผ่านโครงการ PGS 11 บสย. SMEs Smart Green
4. ผู้ประกอบการใน 8 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปสู่อนาคต ผ่านโครงการ PGS 11 บสย. SMEs Ignite Biz และ บสย. SMEs Ignite One
5. ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด และอยู่ระหว่างฟื้นตัว เป็นกลุ่มที่ต้องการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง โดย บสย. ให้ความช่วยเหลือต่อเนื่องผ่าน 2 โครงการ ได้แก่
- โครงการค้ำประกันสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ร่วมกับสถาบันการเงินของรัฐ วงเงิน 20,000 ล้านบาท ถูกออกแบบมาเพื่อช่วย SMEs รายเล็ก ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ที่มีรายได้ต่อปีไม่เกิน 2 ล้านบาท โดยมีอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 3% ต่อปี และอัตราค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 2% ต่อปี ซึ่งผู้ประกอบการ SMEs จะรับภาระอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมค้ำประกันเริ่มต้นเพียง 6% ต่อปี.
- โครงการ PGS 11 บสย. SMEs Smart One ให้ความช่วยเหลือต่อเนื่อง สำหรับ SMEs ทั่วไปที่ต้องการสินเชื่อสำหรับขยายกิจการ หรือเสริมสภาพคล่อง
6. ผู้ประกอบการที่ฟื้นตัวจากโควิด และต้องการขยายกิจการ โดย บสย. เดินหน้าให้ความช่วยเหลือผ่าน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการค้ำประกันสินเชื่อ อัตราค่าธรรมเนียมตามความเสี่ยง (Risk-Based Pricing) และโครงการรายสถาบันการเงินระยะที่ 7
นายสิทธิกร กล่าวว่า ในปี 2568 บสย. จะเดินหน้าพัฒนาองค์กรใน 4 มิติ เพื่อเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และเพิ่มศักยภาพในการช่วยเหลือ SMEs ในประเทศไทย โดยมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการ SMEs ทุกกลุ่ม ตามพันธกิจและวิสัยทัศน์ “SMEs’ Gateway” ศูนย์กลางเชื่อมโยงเงินทุนและโอกาสให้แก่ SMEs เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน.
ข้อมูลเพิ่มเติม : https://www.tcg.or.th/news_inside.php?news_id=7558