fbpx

Ford RMA

วิธีต่อพรบ และชำระภาษีรถออนไลน์ รวดเร็ว เอกสารไม่วุ่นวาย

วิธีต่อพรบ และชำระภาษีรถออนไลน์ รวดเร็ว เอกสารไม่วุ่นวาย

วิธีต่อพรบ และชำระภาษีรถออนไลน์ รวดเร็ว เอกสารไม่วุ่นวาย

รถทุกคัน ทุกประเภท ต้องได้รับการต่อป้ายภาษีและต่อ พ.ร.บ. เป็นประจำทุกปี หากไม่ต่อตามกฎหมายกำหนด อาจทำให้เราต้องโทษความผิดได้ แต่รู้หรือไม่ว่า ‘พ.ร.บ และภาษีรถยนต์’ ไม่เหมือนกัน ซึ่งสองสิ่งนี้ต้องต่อพร้อมกันทุก ๆ ปี ยุคปัจจุบันนี้ได้รับความอำนวยสะดวก เพราะเราสามารถดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ได้อย่างสบาย ๆ ทั้งวิธีต่อพรบ และชำระภาษีรถออนไลน์

พ.ร.บ คืออะไร

พ.ร.บ.  คือ พระราชบัญญัติประกันภัยรถภาคบังคับที่กฎหมายจราจรบัญญัติไว้ว่ารถคันต้องทำ ซึ่งต้องต่ออายุเป็นประจำทุกปี หลังจากนั้นจึงจะสามารถชำระภาษีรถเป็นขั้นตอนถัดไปได้ รถแต่ละประเภทก็จะมีอัตราค่าบริการที่แตกต่างกันไป โดย พ.ร.บ. ไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่เป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายเพียงเท่านั้น ยังสามารถให้ความคุ้มครองเบื้องต้นแก่ผู้ประสบอุบัติเหตุโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ว่าฝ่ายใดผิดถูก

การต่อ พรบ.รถ

การต่อพรบรถยนต์และรถจักรยานยนต์ สามารถทำด้วยตนเองง่าย ๆ ที่บ้านหรือที่ไหนก็ได้ที่สะดวก โดยจะต้องทราบข้อมูลเบื้องต้น ว่ารถทะเบียนอะไร เป็นรถประเภทใดและป้ายเป็นของจังหวัดใด ถ้าไม่ทราบข้อมูลที่แท้จริงของรถสามารถดูได้จากเล่มรถสำหรับเป็นหลักฐาน 

  • รถยนต์ : ในกรณีที่รถยนต์จะต้องตรวจสภาพก่อนดำเนินการต่อ พ.ร.บ. อายุรถจะต้องมากกว่า 7 ปีขึ้นไป หากยังไม่ถึง 7 ปี นั่นแสดงว่ายังเป็นรถใหม่อยู่ ไม่จำเป็นจะต้องตรวจสภาพ
  • รถจักรยานยนต์ : เช่นเดียวกับรถยนต์ ซึ่งรถจักรยานยนต์จะต้องทำการตรวจสภาพก่อนต่อ พ.ร.บ. เมื่ออายุรถจักรยานยนต์เกิน 5 ปี แต่ถ้าอายุรถจักรยานยนต์ไม่ถึง 5 ปี อนุโลมให้ไม่ต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อ พ.ร.บ.

ท่องให้ขึ้นใจว่า..ถ้ารถยนต์อายุการใช้งานเกิน 7 ปีและรถจักรยานยนต์ที่อายุใช้งานเกิน 5 ปี ให้นำรถไปตรวจสภาพรถได้ตามสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ก่อนดำเนินการต่อ พ.ร.บ. ทุกครั้ง 

วิธีต่อพรบ.

ปัจจุบันมีวิธีต่อพรบรถให้เลือกมากมายหลากหลาย ทั้งยื่นเอกสารด้วยตัวเองหรือยื่นเรื่องผ่านระบบออนไลน์ ไม่ว่าอยู่ที่ไหนคุณก็สามารถต่อ พ.ร.บ รถออนไลน์ได้ทุกเวลา ใช้เวลาไม่เกินครึ่งชั่วโมงแน่นอน 

  • ตัวเลือกที่ 1 ให้สถานตรวจรถเอกชนต่อให้ : ศูนย์บริการ ตรอ. มีอยู่ทุกจังหวัดทั่วไทย ให้แจ้งไปยังพนักงานว่านำรถมาตรวจสภาพ ต่อ พ.ร.บ. และต่อภาษีตามลำดับ ซึ่งอาจจะมีอัตราค่าบริการบวกเพิ่มเล็กน้อย 
  • ตัวเลือกที่ 2 ต่อแบบออนไลน์ด้วยตนเอง : ปัจจุบันแค่มีอินเทอร์เน็ตก็สามารถทำอะไรได้อย่างมากมาย เช่นเดียวกับการต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ด้วยตยเอง ซึ่งมีความง่ายดายมาก ใช้เวลาเพียง 15-30 เท่านั้น
    • เข้าไปที่ https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf แล้วทำการสมัครสมาชิกสำหรับผู้ที่ไม่เคยต่อ พ.ร.บ ด้วยตนเองมาก่อน
    • กรอกข้อมูลในส่วนของ ประเภทรถ จังหวัด และเลขทะเบียนรถ ให้ครบถ้วน 
    • หลังจากที่ระบบค้นหาข้อมูลรถของคุณเจอแล้ว จะขึ้นเป็นสัญลักษณ์ ‘ยื่นชำระภาษี’ ที่แถบขวาสุด 
    • จากนั้นคลิกที่ ซื้อ พ.ร.บ. และ ให้กรอกข้อมูลบริษัทประกันภัยให้ครบถ้วน
    • หลังชำระเงินเรียบร้อยแล้ว กรมการขนส่งทางบกจะส่ง พ.ร.บ ฉบับใหม่ไปตามที่อยู่ที่กรอกไว้ในระบบ
  • ตัวเลือกที่ 3 ต่อด้วยตนเองแบบยื่นเอกสาร : วิธีนี้จะต้องทำการตรวจสภาพรถก่อน และนำใบตรวจสภาพรถนั้นไปยื่นที่ขนส่งสาขาใกล้บ้าน หรือจะยื่นตามจุดบริการ drive thru เพื่อทำการชำระค่าบริการและต่ออายุ พ.ร.บ.

อัตราค่าบริการต่อ พ.ร.บ.

สำหรับอัตราค่าบริการจะคำนวณตามประเภทและลักษณะการใช้งานของรถ สามารถแบ่งได้ทั้งหมด 2 ประเภท คือ รถยนต์และรถจักรยานยนต์ สำหรับรถจักรยานยนต์ก็จะมีอัตราค่าบริการตามขนาดของตัวถัง แต่ถ้าเป็นรถยนต์ก็จะคิดค่าบริการตามจำนวนความจุของที่นั่ง 

  • ค่าบริการสำหรับรถจักรยานตนต์ส่วนบุคคล
    • ไม่เกิน 75 ซี.ซี. 161.57 บาท
    • เกิน 75-125 ซี.ซี. 323.14 บาท
    • เกิน 125-150 ซี.ซี. 430.14 บาท
    • เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป 645.21 บาท
    • รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 323.14 บาท
  • ค่าบริการสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล
    • รถยนต์ที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง 600 บาท
    • รถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง ไม่เกิน 15 ที่นั่ง 1,100 บาท
    • รถยนต์โดยสารเกิน 7 ที่นั่ง เกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 บาท
    • รถยนต์โดยสารเกิน 7 ที่นั่ง เกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 บาท
    • รถยนต์โดยสารเกิน 7 ที่นั่ง เกิน 40 ที่นั่ง 3,740 บาท

การชำระภาษีรถ 

ตามที่เกริ่นไว้ในข้างต้นว่า พ.ร.บ. รถ และภาษีรถมีความแตกต่างกัน รถทุกคันจะต้องเสียภาษีเป็นประจำทุกปี ซึ่งเงินที่เราเสียภาษีนี้ก็จะย้อนกลับสู่หน่วยงานภาครัฐ สามารถนำเงินส่วนนั้นไปพัฒนาประเทศให้ดีขึ้นได้ แผ่นป้ายภาษีรถจะเป็นลักษณะสี่เหลี่ยมสีชมพูเล็ก ๆ ออกให้โดยกรมการขนส่งทางบก ในฐานะของคนที่ใช้รถเป็นประจำ ก็จะต้องชำระหรือต่อทะเบียนรถเป็นประจำทุกปี หากไม่ได้ต่อทะเบียนติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี ส่งผลให้มีโทษทางกฎหมาย

เอกสารที่ต้องใช้ในชำระภาษีรถ

การเตรียมเอกสารก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอะไรเลยเพียงแค่มีหลักฐานเกี่ยวกับรถ ซึ่งหลักฐานดังกล่าวต้องแสดงให้เห็นว่ารถมีการชำระภาษีอย่างต่อเนื่อง เป็นรถที่มีเจ้าของถูกต้องตามกฎหมาย 

  • เล่มรถ (รถยนต์เล่มสีน้ำเงิน และรถจักรยานยนต์เล่มสีเขียว)
  • หลักฐานการต่อ พ.ร.บ. ซึ่งจะต้องต่อ พ.ร.บ. ก่อนต่อทะเบียนรถทุกครั้ง
  • หลักฐานการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) สำหรับรถยนต์ที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว 7 ปีขึ้นไป และรถจักรยานยนต์ 5 ปีขึ้นไป 

ชำระภาษีรถได้ที่ไหนบ้าง 

ปัจจุบันมีช่องทางให้เลือกอย่างหลากหลาย สะดวกต่อทะเบียนรถแบบไหนให้ไปที่นั่นได้เลย มีทั้งการไปด้วยตนเอง และช่องทางการชำระภาษีรถออนไลน์เหมือนกับการต่อ พ.ร.บ. รถนั่นแหละ แต่ก่อนจะต่อทะเบียนคุณไม่ลืมที่จะต้องทำการต่อ พ.ร.บ. รถเสียก่อน 

  • สำนักงานขนส่งใกล้บ้าน 
  • ชำระภาษีรถออนไลน์ด้วยระบบ E-Service ที่เว็บไซต์ กรมการขนส่งทางบก
  • จุดบริการ Drive Thru For Tax
  • เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.)
  • ที่ทำการไปรษณีย์ทุกสาขา 
  • สถานที่ตรวจสอบสภาพรถ (ตรอ.)
  • ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ Shop Thru For Tax

อัตราค่าบริการในการชำระภาษี

ในแต่ละปีจะต้องเตรียมเงินสำหรับการต่อภาษีรถประมาณเท่าไหร่โดยเราสามารถคำนวณได้จากขนาดตัวถังของรถ ถ้าใครยังไม่ทราบว่าขนาดตัวถังมีเท่าไหร่บ้าง สามารถเปิดดูข้อมูลได้จากสมุดรถที่คุณถือครองอยู่ 

  • รถจักรยานยนต์
    • ไม่เกิน 75 ซี.ซี. ปีละ 161.57 บาท
    • เกิน 75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี. ปีละ 323.14 บาท
    • เกิน 125 ซี.ซี. ถึง 150 ซี.ซี. ปีละ 430.14 บาท
    • เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป ปีละ 645.21 บาท
    • รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ปีละ 323.14 บาท
  • รถยนต์ (สำหรับรถยนต์จะมีอัตราค่าบริการต่อภาษีละเอียดเป็นพิเศษ โดยคำนึงถึงชนิดของรถและการใช้งาน สำหรับรถที่ใช้งานมานานกว่า 5 ปีอัตราการเสียภาษีก็จะลดลงปีละ 10% เช่น อายุรถที่เกิน 6 ปีก็จะได้ส่วนลดภาษี 10% และปีถัด ๆ มาก็จะได้ลดภาษีบวกเพิ่มอีก 10%)
    • รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ 
    • เครื่องยนต์ขนาด 1-600 ซีซี คิดเป็น ซีซี ละ 50 สตางค์
    • เครื่องยนต์ขนาด 601-1800 ซีซี คิดเป็น ซีซี ละ 1.50 บาท
    • เครื่องยนต์ขนาด 1801 ซีซี ขึ้นไป คิดเป็น ซีซี ละ 4 บาท

วิธีต่อพรบ และต่อภาษีรถไม่ได้มีขั้นตอนวุ่นวายอย่างที่หลาย ๆ คนเข้าใจ ยิ่งปัจจุบันยิ่งเป็นยุค Thailand 4.0 ยิ่งมีความสะดวกสบายมากขึ้น สามารถต่อพ.ร.บและชำระภาษีรถออนไลน์ได้ที่ไหนก็ได้ เป็นสิ่งที่เราในฐานะคนใช้รถควรจะทำเป็นประจำอยู่ทุกปี เพราะถ้าเผลอไปจ๊ะเอ๋กับตำรวจจราจร ขณะยังไม่ได้ชำระภาษีหรือต่อ พ.ร.บ. ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ใช่เรื่องดีแน่นอน เพราะต้องเสียค่าปรับตามกฎหมายกำหนด โดยสามารถต่อพ.ร.บ. และภาษีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือนก่อนถึงกำหนดต่อใหม่


ขอบคุณข้อมูล : https://www.axa.co.th/pay-taxes-online-jul , https://car.kapook.com/view251017.html


——————— Ford RMA ยินดีให้บริการ ———————

ติดต่อรับรถเข้าศูนย์บริการ : 02-407-0999
ID Line : @fordrma.th
Link LINE : https://lin.ee/mmPcYDU
ฟอร์ดกัลปพฤกษ์ : 02-416-1555
ฟอร์ดพระราม4 : 02-713-6000
ฟอร์ดราชพฤกษ์ พระราม5 : 02-432-6599
ฟอร์ด หัวหมาก : 085-661-2488
Google Map ฟอร์ดกัลปพฤกษ์ : https://g.page/FordKalpapruek?share
Google Map ฟอร์ดอาร์เอ็มเอ สาขาพระราม 4 : https://g.page/FordRama4RMA?share
Google Map ฟอร์ดราชพฤกษ์ พระราม5 : https://g.page/fordrama5?share
Facebook : https://www.facebook.com/Cityfordrma/
Website : https://www.fordrma.com/

ลงทะเบียนรับส่วนลด

0
    ตะกร้าสินค้า
    ตะกร้าสินค้าว่างเปล่ากลับสู่ร้านค้า
    Chat with us!
    Instagram